วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความสินค้าส่งออก

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยังมีความต้องการนำเข้าผักจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก GAP หากมีความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งผักของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่นฟิลิปปินส์ และจีน และจากการศึกษาศักยภาพพืชผักส่งออกในตลาดญี่ปุ่น กรณีกระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวโพดฝักอ่อน ในปี 2551 พบว่า ผักสดที่ส่งออกไปญี่ปุ่นต้องมาจากแปลง GAP และโรงงาน GMP ที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร อยู่ภายใต้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ และขนส่งทางอากาศเท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายในการส่งออกของกระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.52 บาท 168.52 บาทและ146.52 บาท ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 167.57 บาท 226.78 บาท และ 198.76 บาท ตามลำดับ สำหรับช่องทางการกระจายสินค้าในญี่ปุ่น ร้อยละ 60 กระจายไปรอบๆ กรุงโตเกียวและโอซากา ส่วนที่เหลือกระจายไปทุกจังหวัด สำหรับรสนิยม และพฤติกรรมการบริโภคผักของชาวญี่ปุ่น จะนิยมซื้อกระหล่ำปลีมากที่สุด และนิยมซื้อผักที่ผลิตในประเทศมากที่สุด รองลงมาคือไทย จีน ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน
ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกซื้อผักจากไทยคือ คุณภาพ รองลงมาคือประโยชน์ต่อสุขภาพ รสชาติ และราคา โดยไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับคู่แข่งคือออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์และครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งเฉลี่ยร้อยละ 28 สำหรับความเชื่อมโยงของราคาขายส่งหน่อไม้ฝรั่งระหว่างตลาดขายส่งกรุงเทพฯ และตลาดขายส่งโตเกียวพบว่าทั้ง
2 ตลาดมีความเชื่อมโยงกันแต่ไม่ได้กำหนดราคาซึ่งกันและกัน
          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผักทั้ง 3 ชนิดของไทยจะมีศักยภาพในการส่งออกไปญี่ปุ่น แต่ปัญหาที่สำคัญ คือ คุณภาพเมื่อถึงปลายทางลดลงและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ดังนั้น ทาง สศก. จะเร่งดำเนินการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศให้ครบวงจร และเร่งรัดประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านมาตรฐานคุณภาพ สินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดญี่ปุ่น



 วิเคราะห์   Swot
จุดแข็ง
  • ผักของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่นฟิลิปปินส์ และจีน และจากการศึกษาศักยภาพพืชผักส่งออกในตลาดญี่ปุ่น กรณีกระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวโพดฝักอ่อน  ผักจากไทย จะมีคุณภาพ รองลงมาคือประโยชน์ต่อสุขภาพ รสชาติ และราคา โดยไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับคู่แข่งคือออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์และครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งเฉลี่ยร้อยละ 28 สำหรับความเชื่อมโยงของราคาขายส่งหน่อไม้ฝรั่งระหว่างตลาดขายส่งกรุงเทพฯ และตลาดขายส่งโตเกียวพบว่าทั้ง 2 ตลาดมีความเชื่อมโยงกันแต่ไม่ได้กำหนดราคาซึ่งกันและกัน
จุดอ่อน
  • คุณภาพเมื่อถึงปลายทางลดลงและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ระบบโลจิสติกส์ในประเทศไม่ครบวงจร
โอกาส
  • การส่งออกผักของไทยมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ด้วยคุณภาพผักของไทยที่ดี
  • ประเทศต่างๆให้ความสนใจกับผักไทย  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
อุปสรรค
  • คุณภาพเมื่อถึงปลายทางลดลงและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ดังนั้น ทาง สศก. จะเร่งดำเนินการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศให้ครบวงจร และเร่งรัดประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านมาตรฐานคุณภาพ สินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดญี่ปุ่น


ที่มา


 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
        
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)         การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
 การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด

การค้าระหว่างประเทศ (International Trade)
            การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) คือ กิจกรรมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน (Exchange) สินค้าและบริการระหว่างประเทศ อาจเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยตรง (Barter System) หรือการค้าโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนและวิทยาการเทคโนโลยีต่างๆ ระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศจะต้องมีการตกลงว่าจะใช้เงินสกุลใดในการค้านั้น แล้วจึงมีการแลกเปลี่ยนเงินตามอัตราการแลกเปลี่ยนของสกุลที่ตกลงกันแล้วจึงนำมาชำระค่าสินค้าตามที่ตกลงกัน
ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศคู่ค้าและประเทศอื่นๆ ดังนี้
1. ประเทศคู่ค้ามีสินค้าให้เลือกบริโภคจำนวนมากขึ้นและหลากหลายชนิด
2. ประเทศผู้ผลิตมีความชำนาญในการผลิตสินค้ามากขึ้น เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้มากขึ้นรวมทั้งขยายการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
3. ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตต่างๆ จะมีการถ่ายทอดไปยังประเทศต่างๆ เป็นผลดีต่อการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต มีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการผลิตในประเทศให้ดีขึ้น
4. ช่วยให้ผู้บริโภคในประเทศที่ไม่สามารถทำการผลิตสินค้าได้หรือผลิตได้แต่ต้นทุนการผลิตสูงมีสินค้าเพื่อการบริโภค
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศคู่ค้าดังนี้
การผลิตสินค้า ประเทศคู่ค้ามีโอกาสเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัดและชำนาญ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าดีขึ้น สินค้ามีมาตรฐานสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด
การบริโภค การค้าระหว่างประเทศทำให้ประชากรทั่วโลกมีโอกาสได้บริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้และได้รับความพอใจจากการบริโภคเต็มที่
การให้วิทยาการใหม่ (Know-How) การค้าระหว่างประเทศทำให้เกิดการกระจายวิทยาการใหม่ๆ ไปทั่วโลก การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการบริหาร การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
การกระจายรายได้ การค้าระหว่างประเทศจะช่วยให้การกระจายรายได้ดีขึ้น เมื่อมีการผลิต การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ ทำให้รายได้ประชาชาติและมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
การตลาด การค้าระหว่างประเทศช่วยให้ตลาดของสินค้าและบริการขยายตัว ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น อุปสงค์รวมทั่วโลกเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย
แหล่งข้อมูลที่นำมา
 

www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc
msci.chandra.ac.th/econ/ch14inttrade.doc

ประเทศ เยอรมนี

 เยอรมนี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   เยอรมนีได้รับการบ้านของบางอย่างของนักวิจัยที่โดดเด่นที่สุดในสาขาวิทยาศาสตร์ต่างๆ 
ความสำเร็จนี้ทำให้เขาชนะแรกของรางวัลโนเบลฟิสิกส์ในปี 1901 Aerospace engineer Wernher von Braun พัฒนาจรวดพื้นที่แรกและต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของนาซาและพัฒนาจรวด Saturn V Moon ซึ่งปูทางสำหรับความสำเร็จของโครงการ Apollo บาท งาน Heinrich Rudolf Hertz ในโดเมนรังสีเป็นสำคัญในการพัฒนาโทรคมนาคมสมัยใหม่ ผ่านการก่อสร้างห้องปฏิบัติการแรกที่มหาวิทยาลัยซิกใน 1879 ของเขา, Wilhelm Wundt เป็นเครดิตกับสถานประกอบการของจิตวิทยาเป็นอิสระเชิงประจักษ์ วิทยาศาสตร์ Alexander von Humboldt ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและ explorer เป็นพื้นฐานเพื่อชีวภูมิศาสตร์



แหล่งข้อมูลที่นำมา
    
    - http://th.wikipedia.org/